oss cover image

เชื่อหรือไม่ว่า ประตูออโต้ หรือ ประตูอัตโนมัติ ที่เราเห็นและใช้งานกันอยู่ทุกวัน ติดตั้งทั้งในอาคาร สำนักงาน โรงพยาบาล ฯลฯ มีอัตราการทำงานหนักมาก เฉลี่ยทั้งเปิดและปิด อาจจะสะสมมากกว่า 1 ล้านครั้ง/บาน/ปี แม้ถูกออกแบบมาให้แข็งแรงทนทาน แต่ก็มีความจำเป็นต้องบำรุงรักษา และตรวจเช็กประตูออโต้อยู่เป็นประจำ หรือ ภาษาช่างเรียกวิธีนี้ว่า PM

PM ย่อมาจาก Preventive Maintenance หรือ “การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน” นับเป็นรูปแบบการดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนาดใหญ่ ด้วยวิธีการตรวจสอบ ซ่อมแซม เปลี่ยนอะไหล่ตามระยะเวลาที่กำหนด หรือ ตามวงรอบของอายุการใช้งาน

การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เป็นวิธีที่นิยมใช้กันทั่วโลก มีประโยชน์มาก เพราะช่วยยืดอายุการทำงานให้เครื่องจักร เหนือสิ่งอื่นใด สร้างความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน สำหรับ PM การบำรุงรักษา ประตูออโต้ ต้องทำโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ เฉลี่ยประมาณ 1 - 2 ครั้ง/ปี หรือ ทุก 6 เดือนเป็นอย่างน้อย

คอนเทนต์นี้ OSS พามาดูข้อมูล วิธีการตรวจเช็ก บำรุงรักษา ประตูออโต้ ประตูอัตโนมัติ อย่างละเอียด มีทั้งหมด 10 ขั้นตอน ตามอ่านกันได้เลย

10 ขั้นตอน ตรวจเช็กและบำรุงรักษา “ประตูออโต้”

ต่อมาเป็นเรื่องของสถานที่ติดตั้งและจำนวนผู้ใช้งาน ควรสำรวจหน้างาน พร้อมวัดพื้นที่อย่างละเอียด รวมไปถึงคาดคะเนจำนวนผู้ใช้งาน เปรียบเทียบต่อชั่วโมง / ต่อวัน / ช่วงเวลาเร่งด่วน โดยข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญมาก ต้องนำไปคุยกับนักออกแบบและช่างผู้ติดตั้ง เพื่อกำหนดสเปคอย่างเหมาะสม

1. ตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก

เริ่มศึกษาข้อมูลประตูอัตโนมัติ เลือกรุ่นที่สนใจ และเปรียบเทียบคุณสมบัติ ตั้งแต่ 3 - 5 รุ่น ทั้งในเรื่องจุดเด่นและจุดด้อย ในความเป็นจริงขั้นตอนนี้ สามารถเริ่มทำได้ทันที โดยคู่ขนานไปพร้อมกับการกำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้ประตูอัตโนมัติ การศึกษาข้อมูลด้วยวิธีค้นคว้าและเปรียบเทียบ จะช่วยให้คุณเข้าใจกลไกการทำงาน และข้อควรระวังในการเลือกซื้อประตูอัตโนมัติด้วย

2. เช็กการทำงานของระบบเซ็นเซอร์

หลังจากปิดพื้นที่เรียบร้อยแล้ว เริ่มตรวจเช็กการทำงานของระบบเซ็นเซอร์ ด้วยวิธีการใช้งานจริง ทดลองเข้าออกผ่านประตู ทั้งในแบบเดินปกติ เดินเร็ว และวิ่ง พร้อมจำลองสถานการณ์ในหลาย ๆ รูปแบบ เพื่อตรวจเช็กการทำงานของระบบเซ็นเซอร์ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ทดลองยื่นมือขวางประตูอัตโนมัติ เช็กความปลอดภัยและการตรวจจับของระยะเซ็นเซอร์ร่วมด้วย

3. ปิดระบบวงจรไฟฟ้า

จากข้อ 1 - 2 ทำให้เราได้ข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับความสมบูรณ์ ตำหนิ รวมถึงจุดบกพร่อง (ถ้ามี) ของระบบกลไกในประตูอัตโนมัติที่เรามาทำ PM แล้วจึงเริ่มปิดระบบวงจรไฟฟ้า เพื่อหยุดการทำงานทันที สำหรับปุ่ม เปิด - ปิด ส่วนใหญ่ติดตั้งด้านบนของรางประตู สังเกตง่าย อาจเป็นปุ่มสีแดงหรือดำ

4. ตรวจเช็กนอต ล้อหมุน ระบบอุปกรณ์ภายใน

เมื่อปิดวงจรไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว (เช็กให้ชัวร์ ต้องปิดสนิท) ช่างจะเริ่มทำงานจากด้านบนไปล่างเสมอ เริ่มจากเปิดฝาครอบระบบราง เทคนิคแนะนำ ควรใช้อุปกรณ์ที่ถูกต้องในการเปิดและยกฝาครอบขึ้น “ไม่งัด - ไม่แงะ - ไม่กระแทก” เพราะจะทำให้ประตูออโต้ชำรุด

ตรวจเช็กนอต ล้อหมุน ระบบอุปกรณ์ภายในทุกชิ้น ต้องมีครบ อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่หลวม ไม่ชำรุด ไม่มีเสียงดังระหว่างใช้งาน ขั้นตอนนี้ จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาสักพัก ไม่ต้องรีบ ควรเช็กอย่างละเอียด

5. แก้ไขปัญหาเบื้องต้น

หากพบปัญหาจากขั้นตอนที่ 4 ให้ดำเนินการแก้ไข ซ่อมแซม และปรับปรุงโดยทันที ทั้งนี้ ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ปัญหาทั่วไป สามารถแก้ได้ทันที เช่น นอตหลวม นอตหาย นอตขันไม่แน่น สายพานหย่อน คราบสกปรก อุปกรณ์มีฝุ่นจับ ฯลฯ

และปัญหาชำรุด เกิดขึ้นกับอุปกรณ์อะไหล่ชิ้นใหญ่ ๆ มีอาการเสื่อมสภาพ ควรซ่อมแซม หรือ เปลี่ยนใหม่ จำเป็นต้องแจ้งลูกค้า หรือ ผู้เกี่ยวข้องให้รับทราบ เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป (เนื่องจากมีค่าใช้จ่าย) ระบบราง มอเตอร์ ฯลฯ

6. ขันนอต ปรับรางเลื่อน ตรวจเช็กกันตก มูเล่ย์ และจุดยึด

หากพบปัญหาและดำเนินการแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อมาให้ตรวจเช็กความเรียบร้อยอีกครั้ง ขันนอต ปรับรางเลื่อน กันตก มูเล่ยประตูออโต้ และจุดยึดต่าง ๆ ให้แน่นหนา มีความกระชับพอตรึงมือ

ที่สำคัญ ตำแหน่งของหัวนอตควรตรงกับจุดมาร์คทุกตัว หรือที่เรียกว่า “มาร์คนอต” ซึ่งช่างมีการทาสี ทำไฮไลท์ไว้เป็นสัญลักษณ์ คาดตรงกลางระหว่างนอตกับตำแหน่งยึด เพื่อแสดงจุดยึดแน่นที่เหมาะสมหลังติดตั้งเสร็จ หากตำแหน่งมาร์คที่นอตกับส่วนยึดไม่ตรงกัน แสดงว่านอตมีการเคลื่อนตัว ต้องปรับให้ตรงกัน ช่วยทำให้แน่นขึ้น แล้วจึงเสร็จสิ้นขั้นตอนในส่วนของรางด้านบน

7. ตรวจสอบไกด์ประตู ระบบด้านล่าง

มาต่อกันที่กลไกด้านล่าง ช่างตรวจสอบการทำงานของไกด์ประตู เซฟตี้บีม ขอบมุม บานประตูสามารถปิดสนิทหรือไม่ พร้อมเช็กความเรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดขัดด้านล่าง หากประตูมีอาการฝืด ทำงานไม่ไหลลื่น อาจทำให้กลไกประตูเสียหาย จนถึงขั้นตกราง ช่างจะดำเนินการฉีดพ่นน้ำยาไล่ความชื้น และพ่นหล่อลื่นเข้าสู่ระบบอีกครั้ง

8. ทำความสะอาด

เมื่อซ่อมประตูออโต้ทั่วทั้งบานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ช่างจะเริ่มดูดฝุ่นและใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดประตูทั้งบาน ไล่ตามสเต็ปตั้งแต่ด้านบนลงสู่ด้านล่าง ล้างทำความอะไหล่บางชิ้นที่มีคราบสกปรก จนสะอาดเหมือนใหม่ เพื่อเตรียมกลับมาใช้งานอีกครั้ง

9. เปิดระบบ ทดสอบการทำงาน

จากนั้น ช่างจะเริ่มเปิดระบบประตูอัตโนมัติอีกครั้ง พร้อมทดสอบการทำงานเสมือนจริง หากติดขัดตรงส่วนใด และไม่สามารถแก้ไขได้ ช่างส่งข้อมูลและคำแนะนำให้ลูกค้าทราบ เพื่อพิจารณาขออนุมัติการซ่อมหรือเปลี่ยนอะไหล่ต่อไป

10. ส่งมอบงานให้ลูกค้า

ขั้นตอนสุดท้าย ส่งมอบงานให้กับลูกค้า หรือ ฝ่ายอาคารสถานที่ โดยช่างจะสาธิตวิธีการใช้งาน แจ้งข้อมูลการซ่อมบำรุงตามความเป็นจริง พร้อมส่งเอกสาร PM รายงานผลการซ่อมบำรุงประตูออโต้ หากมีอะไหล่ที่ต้องเปลี่ยน หรือ ชิ้นส่วนเริ่มเสื่อมสภาพ ดำเนินการแจ้งให้ลูกค้ารับทราบ เพื่ออนุมัติซ่อมต่อไป

เช็กลิสต์ 24 จุดสำคัญ ประตูอัตโนมัติ ต้องตรวจสอบประจำปี

  1. สภาพแวดล้อมโดยรอบ อุปกรณ์ภายนอก
  2. การทำงานของเครื่อง
  3. เซ็นเซอร์ระยะตรวจจับ
  4. เซฟตี้บีม
  5. การเลื่อนของประตูด้วยมือ
  6. ฝาครอบเครื่อง
  7. รางเลื่อน
  8. ล้อเลื่อน
  9. ล้อกันตก
  10. ตัวหิ้วบาน / จุดยึด
  11. ตัวสต๊อปเปอร์
  12. ไกด์ประตู
  13. บานประตู / ระดับพื้น
  14. หม้อแปลงไฟฟ้า / ไฟฟ้าที่จ่าย
  15. ทำความสะอาดชิ้นส่วนและอุปกรณ์
  16. มอเตอร์
  17. คอนโทรล
  18. พูเลย์
  19. สายพาน / ตัวจับ / ระยะ
  20. จุดยึดรางเลื่อน
  21. จุดเชื่อมต่อ / การวางสายไฟ
  22. หล่อลื่นชิ้นส่วน
  23. กุญแจล็อกประตู
  24. ทดสอบการทำงานของเครื่อง

ทั้งหมด เป็นกระบวนการบำรุงรักษาประตูออโต้ Preventive Maintenance จากทีมงานของ OSS ซึ่งได้การยอมรับในระดับสากลจากทั่วโลก มีมาตรฐานและความปลอดภัยสูง สนใจรับบริการ PM ตรวจเช็ก บำรุงรักษา ประตูออโต้ ประจำปี สามารถซ่อมบำรุงประตูได้ทุกประเภท ติดต่อทีมงาน OSS ได้ทันที

สรุปให้อ่านง่าย

ประตูออโต้ ประตูอัตโนมัติ ที่ติดตั้งตามอาคารและสำนักงานต่าง ๆ ทำงานหนักและต่อเนื่องในทุกวัน จำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษาสม่ำเสมอ กำหนดตามวงรอบ หรือ ที่เรียกว่า PM อย่างน้อย 1 - 2 ครั้ง/ปี เพื่อความปลอดภัย และยืดอายุการใช้งานให้ยาวนาน และมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย