ประตูสวิง (Swing Door) หรือ ประตูที่ต้องอาศัยการเปิดออกด้านหน้า
โดยใช้การผลักหรือดึง ซึ่งในบางครั้งต้องอาศัยแรงที่มากพอสมควรในการเปิด-ปิดประตู โดยประตูบานหนึ่ง อาจหนักได้มากสุดถึง 600 กิโลกรัม!
(เทียบเท่ากับวัวโตเต็มวัยตัวหนึ่งเลยทีเดียว)
ถ้าหากพูดถึง โรงพยาบาล เรามักจะนึกถึงภาพ ประตูสวิง กันได้ง่ายๆ โดยพบเห็นบ่อย ไม่ว่าจะเป็นบานประตูห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด หรือ บริเวณอื่นๆ แล้วแต่พื้นที่จะเอื้ออำนวย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะติดระบบให้เป็นประตูอัตโนมัติ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่บุคคลากรทางการแพทย์ สร้างความปลอดภัยในการใช้งาน สามารถเสริมฟังก์ชันป้องกันไฟและควันได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร มีปุ่มกด (Push button) หรือ ระบบควบคุมการเข้า-ออกสถานที่ (Access Control) เพื่อป้องกันการบุกรุก ที่สำคัญยังเป็นนวัตกรรมช่วยลดการสัมผัสในยุคที่ต้องระมัดระวังเรื่องการจับต้องสิ่งต่างๆ อีกด้วย การใช้ Touchless Switch ร่วมกับ Automatic Swing Door
ประตูแบบสวิงในโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะติดตั้งควบคู่กับระบบเซนเซอร์ เพื่อสั่งการในการเปิด-ปิดประตูอัตโนมัติ โดยการตรวจจับวัตถุที่เคลื่อนผ่าน ระบบ เซนเซอร์จะตรวจจับแล้วเปิดประตูอย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับบริเวณที่ผู้ใช้งานไม่สะดวกที่จะเปิด-ปิดประตูเอง เช่น การเข็นเตียงคนไข้เข้าห้องผ่าตัด หรือ ประตูห้องฉุกเฉิน เป็นต้น
Microcell หรือ ตาแมว ป้องกันการเลื่อนปิดที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เมื่อผู้ใช้งานหยุดอยู่ระหว่างกลางธรณีประตู Safety Sensor จะทำงานหน่วงประตูให้เปิดค้าง ไว้ เพื่อเป็นระบบสำรองในการตรวจจับวัตถุจากด้านล่าง ด้วยความสูง 30-60 ซม. และเพื่ออำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว
โรงพยาบาลบางแห่งอาจมีการเสริมระบบ Access Control เข้าไปในบริเวณที่ต้องการความเป็นส่วนตัว และจำกัดปริมาณคนเข้า-ออกพื้นที่ โดยอาจทำงานร่วมกับแผงควบคุมจากภายในเพื่อป้องกันการบุกรุกได้อีกด้วย
โดยระบบที่กล่าวทั้งหมดประกอบกันทำให้ประตูอัตโนมัติแบบสวิงเป็นที่นิยมใช้ในโรงพยาบาลและพื้นที่สาธารณะอื่นๆ อีก นอกจากนี้ยังมีประตูอัตโนมัติชนิดอื่นที่ เหมาะกับการใช้ในโรงพยาบาล เช่น ประตูสุญญากาศ (Hermetic Door) ประตู Slide อัตโนมัติ ประตูห้องนํ้าไร้การสัมผัส (Touchless Restroom) ฯลฯ เพราะ นอกจากจะสะดวกสบาย และลดการสัมผัสแล้ว ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยสำรองเพื่อความแม่นยำในการเปิด-ปิดไม่ให้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานอีกด้วย